เสาเข็มมีหน้าที่รับน้ำหนักและบ้านของอาคารทั้งหลัง รับน้ำหนักจากฐานรากเสาคานและพื้นรวมไปถึงหลังคา ประเภทเสาเข็ม มีดังนี้

1. เข็มหกเหลี่ยมมีความยาวตั้งแต่ 1 เมตรขึ้นไปเป็นหกเหลี่ยมกลวงเหมาะสำหรับใช้งานขนาดเล็ก เช่น รั้ว, บ่อปลา, ลาน, สนามบาส
2. เสาเข็ม I เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ใช้ในการตอกงานขนาดใหญ่ เช่นบ้าน โรงงาน อาคารสำนักงาน อพาร์ตเมนต์ มีหน้าตัดที่นิยม ได้แก่ I22 I26 I30 ฯลฯ สำหรับความยาวจะมีการตอกทดสอบหรือดูจากผลสำรวจดินก่อนที่จะไปหล่อที่โรงงาน
3. เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน ทำจากคอนกรีต เสริมเหล็ก คล้ายเสาเข็ม I แต่มีหน้าตัดใหญ่กว่าสามารถใช้ในงานที่รับน้ำหนักได้มากกว่า
4. เสาเข็มเจาะ กรรมวิธีจะนุ่มนวลกว่าโดยใช้สามขาแล้วมีเครื่องเจาะนำดินออกมาก่อน ทำให้เป็นรูใต้ดินแล้วดึงปลอกขึ้นมาจากนั้นจึงนำเหล็กยึดกับเหล็กปลอกที่ร้อยรูใต้ดินแล้วดึงปลอกขึ้นมา จากนั้นจึงนำเหล็กยึดกับเหล็กปลอกที่ร้อยไว้แล้ว หย่อนในหลุม แล้วทำการเทปูนลงไปในหลุม มีหน้าตัดที่นิยม 0.35 ม., 0.50 ม., 0.60 ม., การเลือกใช้เข็มเจาะมักใช้ในที่ดินกับแปลงที่มีการก่อสร้างแล้วลดแรงสั่นสะเทือน
5.Spun pile ใช้ในงานขนาดใหญ่ที่สุด เช่น รับน้ำหนักสะพาน อาคารขนาดใหญ่ โรงงานที่รับน้ำหนักมาก ๆ
ขั้นตอนและวิธีการเลือกใช้แต่ละประเภทนั้นขึ้นอยู่กับน้ำหนักและสถานที่ข้างเคียงเป็นหลัก เช่น หากเราจะสร้างรั้วสูง 2.00 -2.50 เราสามารถเลือกใช้เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงได้ แต่ก็มีรั้วที่มีความสูง 3.50 หรือว่ารั้วที่เชื่อมกับคานครัวหลังบ้านก็ควรจะเป็นเสาเข็มที่ลึกเท่าตัวบ้านจะได้ไม่ทรุด ขณะเดียวกันเสาเข็มที่ต่อเติมที่หลังบ้านก็ควรจะแยกจากตัวโครงสร้างและโครงสร้างรั้วดังภาพประกอบ
หากท่านเลือกสร้างบ้านท่านก็มักจะเลือกใช้เข็มตอกตัว I I18 หรือ I22 ในบ้าน 2 ชั้นทั่วไป วิธีทำคือจะเดินไลน์ปั้นจั่น ตามหมุดที่ปักแล้วตอกตามแผนงานของ Consult หรือตามตารางที่ตกลงกับเจ้าของไว้วิธี ตรวจจะเรียกว่า Blow Count (จำนวนครั้งที่ตอกได้ใน 1 ฟุต)
ซึ่งแม้จะมีผลดินมาแล้วว่าลึกขนาดไหนในชั้นดินดาน ก็ยังต้องมีการใช้เข็มตัวอย่างมาตอกนำซัก3-4ต้น เพื่อความแน่นอนและแจ้งให้ผู้คุมงานทราบและจึงทำการตอกต่อไป จนครบทั้งตึก ขั้นตอนนี้มีความสำคัญมาก ๆ ถึงจะได้ Load ตามที่ตกลง Consult บางที่ขอส่วนผสมปูนและเหล็กยืนในเสาเข็มเลยด้วยซ้ำถึงแม้จะมี มอก.แล้วเพื่อช่วยในการตรวจสอบคุณภาพวัสดุก่อนที่จะเดินตามกรรมวิธี
เมื่ออนุมัติในความลึกที่นอนแล้วจึงเดินตามกรรมวิธี การตอกให้เสร็จหากเป็นอาคารขนาดใหญ่ เช่นโรงงานรับน้ำหนักต่อตารางเมตรเป็นตัน ๆ จะต้องทำการตัดหัวเข็มเพื่อเช็กค่าเบี่ยงเบนของเข็ม (Diviate)ซึ่งจะมีค่าเบี่ยงเบนกำหนดใน วสท. ว่าหน้าตัดแต่ละอันขนาดไม่เท่ากันนั้นจะเบี่ยงเบนได้มาตรฐานที่กำหนดซึ่งแน่นอนว่าที่เอียงมากก็เสียน้ำหนักการรับแรงมากการตรวจสอบการรับน้ำหนัก ก็มี 2 วิธี ได้แก่ 1. Static load ใช้น้ำหนักวางเบี่ยงทิ้งไว้แล้ววัดค่ารับน้ำหนักได้กี่ตัน กรรมวิธีกินเวลาและแพงกว่า 2. Dynamic load ทดสอบใช้ตุ้มกระแทกลงไปแล้ววัดค่าน้ำหนักซึ่งหากFail ไม่ได้น้ำหนักแล้วต้องรีบประชุมกับผู้ออกแบบกับ Consult ที่ปรึกษาและผู้รับเหมาทันที ซึ่งอย่างที่เรียนว่าควรจะมีการทดสอบตอกและตรวจตั้งแต่ชุดแรก ๆ ก่อนงานเสร็จแล้วทำทั้งหมด บางทีมีแบบมิจฉา ชีพก่อสร้างไม่ใช้วิชาชีพเพราะเราต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมในการดำเนินงานและความรู้จริง
การตรวจใบอนุญาตผู้ออกแบบและผู้ควบคุมงาน, ผู้รับเหมาก็เป็นสิ่งสำคัญตรวจดูเลขทะเบียนส่วนตัว ทะเบียนบริษัท ขั้นในคุณวุฒิที่ดำเนินการได้อีกทั้งวัยวุฒิประสบการณ์และผลงานที่ผ่านมาไม่ใช่รับคุมเองแอบรับเหมาเอง ตรวจสอบมั่ว ๆ เองเจ๊ง! สิครับ เพราะงานมีปัญหาทุกที่ครับแต่ทีมงานวิชาชีพต้องแก้ปัญหาได้ ไม่งั้นถ้าเข็มพังแต่แรกทั้งอาคารคุณจะเสียหายทั้งชาติ.
นายภาณุวัฒน์ สินธวัชต์
นายณัฐพล ปิยะตันติ
Lifeimage_ar@yahoo.com